LASIK stands for Laser In-situ Keratomileusis. We use 2 important instruments for LASIK.
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

‘กินเจอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ’ - ชีวิตและสุขภาพ How to Eat Healthy as a Vegetarian - Life and Health


‘กินเจอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ’ - ชีวิตและสุขภาพ
How to Eat Healthy as a Vegetarian - Life and Health

เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ถือเป็นวันเริ่มเทศกาลแห่งการถือศีลกินเจ ช่วงเวลาดี ๆ ที่ทุกคนจะได้มีโอกาสทำบุญ ชำระจิตใจให้สะอาด ตลอด 9 วัน ไปจนถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 โดยในปี 2556 นี้ ตรงกับวันที่ 5-13 ตุลาคม

เวียนมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลถือศีลกินเจในปีนี้

การกินเจในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากการกินเจในอดีต โดยอาหารเจในปัจจุบันจะเน้นหนักอาหารเจที่มัน ๆ ทอด ๆ ใช้น้ำมันราดจนเยิ้ม และอาหารเจปรุงสำเร็จที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด มักจะใช้ “หมี่กึง” ซึ่งเป็นแป้งทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ทำให้หลายคนมีข้อสงสัยว่ากินเจแล้วดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

จริง ๆ แล้ว หากเรากินเจอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ใช้โปรตีนจากถั่ว และอาหารธรรมชาติชนิดต่าง ๆ แทน จะช่วยให้กระเพาะอาหารได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่

นอกจากนี้ อาหารเจ ซึ่งเต็มไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืช และอาหารจากธรรมชาติ ล้วนให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกันออกไป หากเรารู้จักเลือกและผสมผสานวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้เหมาะสม ก็จะทำให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายและสมดุลมีคุณค่าทั้งเสริมสร้าง ส่งเสริม และซ่อมแซมสุขภาพ

กินเจอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ

- ระมัดระวังอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรเน้นผักผลไม้ให้มาก ๆ เพราะถ้าเผลอรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ซึ่งมักจะใช้ “หมี่กึง” รับรองความอ้วนมาเยือนแน่ ๆ ควรเลือกอาหารที่ปรุงด้วยผัก เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร

-ไม่ควรรับประทานอาหารเจที่มีรสเค็มเกินไป เพราะอาหารเจในปัจจุบันมีการนำเครื่องปรุงรส เช่น ซอส เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เกลือ ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

- อาหารเจส่วนใหญ่เป็นประเภทผัดและทอด ซึ่งจะมีน้ำมันมาก ก็ไม่ควรรับประทานเยอะ ไม่อย่างนั้นพอหมดช่วงกินเจ รอบเอวจะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ควรเลือกรับประทานอาหารเจประเภทต้มหรือนึ่งจะดีกับสุขภาพมากกว่าอาหารทอด ๆ ที่สำคัญอย่าลืมขยับกาย เคลื่อนไหวให้เหงื่อออกทุกวัน

กินเจอย่างไรให้ได้คุณค่าอาหารครบถ้วน ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

- ถั่ว เป็นหนึ่งในเมนูสำคัญที่นำมาใช้ประกอบอาหารในช่วงกินเจ เพื่อให้ได้โปรตีนมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดหายไป ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีไม่แพ้เนื้อสัตว์และไม่มีคอเลสเตอรอล

- เห็ด ปัจจุบันเห็ดเป็นเมนูฮิตของทุกคนในครอบครัว เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูและมีรสชาติอร่อยถูก ปากแล้ว เห็ดถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีไม่แพ้เนื้อสัตว์และถั่ว แม้ปริมาณจะไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ แต่เห็ดมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น

และที่สำคัญเห็ดยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน แร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก และซีลีเนียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย ซึ่งเห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น เห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู และสารพัดเห็ดต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น โดยเมนูเห็ดยอดนิยม ได้แก่ ยำเห็ดญี่ปุ่น เต้าหู้ตุ๋นเห็ดหอม สเต๊กเต้าหู้ราดซอสเห็ดเจ หรือ สปาเกตตีซอสเห็ด เป็นต้น

นอกจากเห็ดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคและเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เห็ดทางการแพทย์ หรือ Medicinal Mushrooms ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ป้องกันเซลล์ต่าง ๆ ไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมง่าย

นอกจากนี้ยังมีสารบางตัวที่เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งปัจจุบันจึงถูกนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเห็ดสกัดเข้มข้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปเห็ดแห้งมาบริโภคในรูปชาหรือซุป หรือในรูปแคปซูล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รักสุขภาพ สามารถเลือกนำมาบริโภคได้สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในช่วงถือศีลกินเจ เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดมาเน็นตาเกะ เห็ดเรอิชิ (เห็ดหลินจือ) และเห็ดชิตาเกะ (เห็ดหอมญี่ปุ่น) เป็นต้น

- ผักนานาชนิด เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการกินเจ แต่ถ้าจะกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรกินเป็นผักสด หรือลวก มากกว่านำมาผัดที่ใช้น้ำมันราดจนเยิ้ม หรือผัดน้ำมันแต่น้อย และควรกินผักให้ครบ 5 สี คือ

1. สีแดง-ส้ม จากมะเขือเทศ พริกสุก แครอท ช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
2. สีดำ-น้ำเงิน-ม่วง จากถั่วดำ เผือก มะเขือม่วง ช่วยในการบำรุงไต
3. สีเหลือง จากฟักทอง ถั่วเหลือง มะม่วงสุก ข้าวโพด มีประโยชน์ในการบำรุงม้าม
4. สีเขียว เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงตับ และ
5. สีขาว จากลูกเดือย ผักกาดขาว ช่วยในการบำรุงปอด ควรกินสลับกันไปในแต่ละวันเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน และต้องงดเว้น กระเทียม หัวหอม กุยช่าย หรือผักที่มีกลิ่นฉุน

- ธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมี สารเฟลโวนอยด์และใยอาหาร ซึ่งผู้กินเจควรเลือกกินผลไม้ให้หลากหลาย เช่น ส้ม กล้วย แอปเปิ้ล ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดชื่น

และเส้นใยอาหารจากผลไม้ ช่วยให้ระบบย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ ซึ่งผลไม้ที่สารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ได้แก่ พรุน นอกจากนี้มีใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม ที่มีทั้งใยอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลได้ดี ป้องกันท้องผูก ส่วนบิลเบอรี่ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา เป็นต้น

เทศกาลถือศีลกินเจ ถือเป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่ทุกคนจะได้มีโอกาสทำบุญ ชำระจิตใจให้สะอาด ฉะนั้น อย่าให้ช่วงเวลาดี ๆ นี้ ทำให้คุณเสียสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารเจที่ได้จากอาหารจากธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธัญพืช ผัก ผลไม้ และเห็ดต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการล้างพิษในร่างกาย และเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ก็จะช่วยให้คุณอิ่มบุญ และอร่อยกับเมนูอาหารเจได้อย่างไม่เสียสุขภาพ

ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา : เดลินิวส์
http://buff.ly/19YjuXA

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์เลสิคและรักษาสายตา เลเซอร์วิชั่น > eye care tips > LASIK HEALTH CORNER
โทรปรึกษา หรือจองคิวตรวจ โทร 02-511-2111, 02-939-6006
ขอบคุณภาพประกอบจาก fruitsinfo.com

บทความที่ได้รับความนิยม